วัดตรีมิตร ตั้งอยู่ที่ บ้านกือแลมะห์ เลขที่ 1-2 ถนนเทศบาล4 หมู่ที่ 9 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2519 และได้รับประกาศตั้งวัด ในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2520 มีนามว่า "วัดตรีมิตร" โดยมีนายสุธี บุญสวัสดิ์ เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตสร้าง และขอตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 ฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา เมื่อวันจันทร์ ที่ 30 พฤษภาคม 2554
ความเป็นมาของวัดตรีมิตร ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2515 ด้วยแรงศรัทธาของพุทธสาสนิกชน ในจังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียง โดยได้ร่วมกับบริจาคทุนทรัพย์ซื้อที่ดินของ นายสุธี บุญสวัสดิ์ จำนวน 3 แปลง มีเนื้อที่ 4 ไร่ 51.6/10 ตารางวา ของนายเอื้อน แก้วสังข์ไชย จำนวน 1 แปลง มีเนื่อที่ 1 ไร่ 1 งาน 29.9/10 ตารางวา ของนายไพรัตน์ พงษ์สุวรรณศิริ จำนวน 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 20.4/10 ตารางวา รวมที่ดินของวัดทั้งหมด 8 ไร่ 1 งาน 9/3/10 ตารางวา เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยมีพระพิศิษฐ์วินัยการ (สุระ ภูริปญฺโญฺ) ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพญาณเมธี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ จังหวัดปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ธรรมยุต) อตีตเจ้าอาวาสวัดสวนใหม่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นผู้อำนวยการสร้าง พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณฯ ได้ตั้งชื่อที่พักสงฆ์แห่งใหม่ว่า "สำนักสงฆ์ยะลาทักษิณาราม" โดยได้เปิดสำนักสงฆ์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2515 และท่านเจ้าคุณฯ ได้อยู่จำพรรษา ตั้งแ่ปี พุทธศักราช 2515 จนถึงปีพุทธศักราช 2516 มีพระภิกษุสามเภรอยู่จำพรรษาตลอดไม่เคยว่างเว้น
ในปีพุทธศักราช 2520 พระครูวุฒิธรรมาภรณ์ (วุฒิ ธม์มธโช) วัดยะลาธรรมาราม ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดตรีมิตร รูปแรก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2520 ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอจังหวัดปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ธรรมยุต) และได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2541
ปัจจุบัน พระครูวรญาณโกวิท (สมควร ญาณวโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชผาติการามแขวงวชิรพยาบาล เขตาุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัตรีมิตร เมื่อวันที่ 4 ธันวาคา 2541 จนถึงปัจจุบัน
อนึ่ง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 นางแฉล้ม จงศิริกุล ได้ถวายที่ดินให้แก่วัดตรีมิตร 1 แปลง จำนวน 1 ไร่ 98.8/10 ตารางวา มีเนื้อที่ดินติดกับที่ดินของวัดด้านหลัง
ปูชนียวัตถุ ของวัดตรีมิตร
1. พระพุทธรูป พระประธานในอุโบสก หน้าตัก 99 นิ้ว คณะพุทธศาสนิกชนจังหวัดยะลาและจังหวัดใกล้เคียง ร่วมกันสร้างถวายเป้นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 เนื้อในวโรกาสที่พระองค์ทรงเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช 2542 ทางวัดได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระประธาน ที่หน้าอุโบสถวัดตรีมิตร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 สมเด็จพระญษณสังวร สมเดจพระสังฆราชประทานนามพระประธานว่า "พระพุทธไทยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา"
2. พระพุทธรูป พระพุทธชนราชจำลอง พระประธานในศาบาการเปรียญ หน้าตัก 59 นิ้ว
3. พระพุทธรูป ปางสมาธิ พระประธานในศาลาการเปรียญ หน้าตัก 39 นิ้ว
4. พระพุทธรูป พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในศาลาอเนกประสงค หน้าตัก 29 นิ้ว
5. พระพุทธรูป ปางปฐมเทศยา พระประธานในศาลาอเนกประสงค์ หน้าตัก 29 นิ้ว
6. พระพุทธรุปปางมารวิชัย พระประธานในศาสาอเนกประสงค์ หน้าตัก 49 นิ้ว
7. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในศาลาอเนกประสงค์ หน้าตัก 39 นิ้ว จำนวน 2 องค์
8. พระพุทธรปสมาธิ พระประธานในศาลาอเนกประสงค์ หน้าตัก 39 นิ้ว
9. พระพูทธรูป ปางอุ้มบาตร สูง 159 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
10. พระพุทธรูป ปางอุ้มบาตร สูง 99 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
11. พระพุทธรูป ปางถวายเนตร สูง 159 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
12. พระพุทธรูป ปางถวายเนตร สูง 99 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
13. พระพุทธรุป ปางห้ามญาติ สูง 99 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
14. พระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร สูง 99 เมตร ในศาลาอเนกประสงค์
15. พระอัครสาวก ซ้าย ขวา 1 คู่ สูง 39 นิ้ว ในศาลาอเนกประสงค์
16. พระพุทธรูป ปางสมาธิ หน้าตัก 39 นิ้ว ในศาลาอเนกประสงค์
17. รูปเหมือนหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริง
18 .รูปเหมือนพระเทพญาณเมธี (หลวงปู่สุระ ภูริปญฺโญฺ) เท่าองค์จริง
สิ่งก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุ ภายในวัด
1. อุโบสถ ก่อสร้างแบบ คสล. กว้าง 17 เมตร ยาว 36 เมตร
2. ศาลาการเปรียญ ก่อสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน กว้าง 9 เมตร ยาว 20 เมตร
3. ศาลาอเนกประสงค์ ก่อสร้างแบบ คสล. 2 ชั้น กว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร
4. ศาลาปริยัติธรรม ก่อสร้างแบบโครงเหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 16 เมตร
5. ศาลาบำเพ็ญบุญ ก่อสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน กว้าง 7.80 เมตร ยาว 28 เมตร
6. กุฎิเจ้าอาวาส ก่อสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน ชั้นเดียว ใต้ถุนต่ำ ฝาผนังกั้นด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบ กว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร
7. กุฎิรับรองพระอาคันตุกะ ก่อสร้างแบบ คสล. 2 ชั้น 1 ห้องนอน ห้องรับแขก 1 ห้องน้ำ กว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร
8. กุฎิแถว ก่อสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน ชั้นเดียว ใต้ถุนต่ำ 5 ห้องน้ำ กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
9. กุฎิแถว ก่อสร้างแบบ คสล. 2 ชั้น 6 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
10. กุฎิ ก่อสร้างแบบ คสล. ชั้นเดียว ใต้ถุนต่ำ 1 ห้องนอน กว้าง 6 เมตร ยาว 4 เมตร
11. กุฏิ (ที่พักอุบาสิกา) ก่อสร้างแบบครึ่งไม้ครึ่งปูน ใต้ถุนต่ำ ฝาผนังกั้นด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบ 1 ห้องนอน กว้าง 3.50 เมตร ยาว 7 เมตร
12. อาคารภัฒฑาคาร ก่อสร้างแบบ คสล. กว้าง 6.50 เมตร ยาว 17.50 เมตร
13. ห้องน้ำห้องส้วม 2 ที่นั่ง กว้าง 1.50 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 3 หลัง
14. ห้องน้ำห้องส้วม 5 ที่นั่ง กว้าง 1.50 เมตร ยาว 7.50 เมตร จำนวน 1 หลัง
15. ห้องน้ำห้องส้วม 3 ที่นั่ง กว้าง 1.50 เมตร ยาว 2 เมตร จำนวน 1 หลัง
16. ห้องน้ำห้องส้วม 6 ที่นั่ง กว้าง 2 เมตร ยาว 9 เมตร จำนวน 1 หลัง
17. ถึงเก็บน้ำบาดาล ก่อสร้างแบบ คสล. กว้าง 2.80 เมตร สูง 6 เมตร จำนวน 1 ถัง
18. ถังเก็บน้ำบาดาล ก่อสร้างแบบ คสล. กว้าง 2.80 เมตร สูง 5.50 เมตร จำนวน 1 ถัง
19. ซุ้มประตูวัด ก่อสร้างแบบ คสล. กว้าง 4 เมตร สูง 5.50 เมตร 1 ซุ้ม
20. กำแพงวัด ก่อสร้างแบบ ก่ออัฐถือปูน กว้าง 120 เมตร ยาว 117 เมตร สูง 1.80 เมตร
21. บ่อน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 3 บ่อ